กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคม โดยผู้เรียนจะต้องลงทะเบียนกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) ในภาคเรียนแรก และปฏิบัติกิจกรรมไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง ตลอดหลักสูตรในแต่ละระดับ
จุดมุ่งหมายการเรียนรู้ หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551
2. ให้ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานในการดำรงชีวิตและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
3. ให้ผู้เรียนมีความสามารถในการประกอบสัมมาอาชีพ ให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัดและตามทัน ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และ การเมือง
4. มีทักษะการดำเนินชีวิตที่ดี และสามารถจัดการกับชีวิต ชุมชน สังคมได้
5 . มีความเข้าใจประวัติศาสตร์ชาติไทย ภูมิใจในวิถีชีวิตและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข
6. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
7. เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีทักษะในการแสวงหาความรู้ และบูรณาการความรู้มาใช้ในการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติ
กลุ่มเป้าหมายของหลักสูตรฯ คือ ประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในระบบโรงเรียน
ลักษณะของกิจกรรม
-
- เป็นกิจกรรมหรือโครงการที่ใช้กระบวนการกลุ่ม โดยมีประชาชนเข้าร่วมอย่างชัดเจน
- ใช้หลักการประสานงาน
- เพื่อการแก้ปัญหา
- ได้ปรึกษาหารือและการรับรองจากหัวหน้าสถานศึกษา
- ไม่มีค่าตอบแทนใด ๆ สำหรับผู้เรียน แต่ผลงานเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม
- ส่งเสริมการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม
ขอบข่ายการจัดกิจกรรม จัดเป็น 2 ตอน ได้แก่
-
- ภาคทฤษฎี
- โครงสร้างและกิจกรรมการพบกลุ่ม
- บทบาทผู้นำ ผู้ตามที่ดี
- ประโยชน์ของการพบกลุ่ม
- บทบาทหน้าที่ของสมาชิกกลุ่ม
- กระบวนการคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น
- คุณธรรม จริยธรรม
- มนุษยสัมพันธ์
- วิธีการเขียนโครงการ
- การวางแผนและประโยชน์ของการวางแผน
- ภาคทฤษฎี
11 คุณสมบัติที่ดีในการอยู่ร่วมกันในสังคม
-
- ภาคปฏิบัติ
- กิจกรรมศาสนา ศิลป วัฒนธรรม และประเพณี
- กิจกรรมพัฒนาชุมชนและสังคม
- กิจกรรมสนับสนุนการศึกษานอกโรงเรียน
- ภาคปฏิบัติ
ระดับประถมศึกษา เรียนภาคทฤษฎี 20 ชั่วโมง และทำกิจกรรม 20 ชั่วโมง
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ภาคทฤษฎี 10 ชั่วโมง และทำกิจกรรม 42 ชั่วโมง
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ภาคทฤษฎี 10 ชั่วโมง และทำกิจกรรม 48 ชั่วโมง
การประเมินกิจกรรม ประเมินจาก
-
- ประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับ
- การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
- ความยากง่ายในการดำเนินงาน
- การใช้กระบวนการกลุ่ม
- ความเหมาะสมในการใช้เวลาปฏิบัติงาน
- ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
- ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์